เทคนิคการเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น

Last updated: 11 มี.ค. 2562  |  3037 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เทคนิคการเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น

"เครื่องทำน้ำอุ่น" เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำให้น้ำร้อนขึ้น โดยอาศัยการพาความร้อนจากขดลวดความร้อน (Heater) ขณะที่กระแสน้ำไหลผ่านส่วนประกอบหลักของเครื่องทำน้ำอุ่นคือ ตัวถังน้ำ ทำหน้าที่บรรจุน้ำที่จะทำความร้อน, ขดลวดความร้อน ทำหน้าที่ทำความร้อนให้น้ำ เมื่อเราเปิดสวิตซ์ กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านขดลวดความร้อนทำให้น้ำร้อนขึ้น และอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) ทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูงถึงระดับที่ตั้งไว้ ผู้ใช้ก็สามารถเปิดน้ำอาบได้ และสามารถปรับอุณหภูมิน้ำได้ตามความต้องการ
 

การเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น

- เลือกเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีเบอร์ 5 เพราะเบอร์ 5 จะประหยัดไฟ


- ใช้ขนาดให้เหมาะกับจำนวนคนในบ้าน อย่างขนาดครึ่งลิตร ก็จะเหมาะกับคอนโด ที่มีคนใช้ประมาณ 1-2 คน ถ้าบ้านของคุณๆ มีคนจำนวน 4 คนขึ้นไป ก็ควรใชเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีขนาด 1 ลิตรขึ้นไป


ใช้เครื่องปรับน้ำอุ่นอย่างไร ให้สบายกระเป๋า?

เลือกขนาดให้เหมาะสม ถ้าบ้านเรามีคนอยู่แค่ 2 คนแต่เลือกใช้ขนาด 1 ลิตร มันก็เกินความจำเป็น และทำให้เปลืองค่าไฟโดยไม่จำเป็นด้วย ถ้ามีน้ำรั่วต้องรีบแก้ใข แม้แต่น้ำรั่วเป็นหยด เพราะว่ามันจะเปลืองค่าน้ำใน 1 วันถ้าเราปล่อยไว้จะเสียน้ำถึง 22 ลิตร ปิืดวาล์วน้ำ และสวิทซ์ หลังจากเราใช้งานเสร็จแล้วก็ควรรีบปิด วาล์วน้ำและสวิทซ์เครื่องปรับน้ำอุ่นทันที

 


เครื่องปรับน้ำอุ่นกินไฟมากไหม?

- ถ้าเครื่องทำน้ำอุ่นขนาด 2,000 วัตต์ ใช้งาน 1 ชั่วโมง/วัน จะกินไฟประมาณ 96 บาท/เดือน


- ถ้าเครื่องทำน้ำอุ่นขนาด 5,500 วัตต์ ใช้งาน 1 ชั่วโมง/วัน จะกินไปประมารณ 264 บาท/เดือน


ในการใช้เครื่องทำน้ำอุ่น ควรเปิดเครื่องให้น้ำไหลพอเหมาะกับการใช้งาน ไม่ควรเปิดเครื่องตลอดเวลาในขณะอาบน้ำ อย่างเช่น สระผม หรือถูสบู่ก็ควรปิดเครื่อง เพราะความอุ่นของน้ำก็จะยังอุ่นอยุ่ เมื่อเสร็จแล้วจึงควรเปิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพราะจะช่วยลดการสูญเสียน้ำและช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า และหากใช้เสร็จควรปิดเครื่องทันที



ข้อสำคัญควรที่ จะหมั่นตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบทำน้ำอุ่นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้มีรอยรั่ว เพราะจะทำให้สูญเสียน้ำและสิ้นเปลืองค่าไฟ หากใช้เสร็จควรปิดวาล์วและสวิตซ์ทันที และหากเครื่องเกิดปัญหาขัดข้องควรปรึกษาช่างผู้นาญงาน ไม่ควรทำการซ่อมแซมเอง เพราะหากเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วออกมาแล้ว อาจทำอันตรายถึงแก่ชีวิตได้


ขอบคุณเนื้อหาจาก: http://www.bhb.co.th/article/articledetail.php?id=115

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้